วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

Unlock boot-loader, Custom Recovery, Root เจ้า Nexus 4 กัน


วันนี้เราจะมาจัดการ Unlock Boot-loader, Custom recovery, Root เจ้า Nexus 4 กัน

ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการทั้งหมด เรามาทำความรู้จักกับ Unlock Boot-loader, Custom Recovery, Root ว่า 3 ตัวนี้มันคืออะไร เป็นมายังไง เริ่มจาก

boot-loader

อธิบายง่ายๆ ก็คือ มันคือชุดคำสั่งที่จะทำงานเป็นชุดแรกเมื่อมีการเริ่มการทำงานของอุปกรณ์ แล้วชุดคำสั่งนี้ก็จะไปเรียก OS หรืออะไรก็แล้วแต่ ให้ทำงานต่อ ทั้งนี้แต่ละอุปกรณ์ อย่างมือถือ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ก็จะมี Boot-loader ที่แตกต่างกันไปตามที่ผู้ผลิตออกแบบไว้

แล้วทำไม Boot-loader จึงถูกล็อกไว้(พูดถึง Android ละนะ)
เหตุผลก็อย่างที่บอกไปข้างต้นคือ Boot-loader มันขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ก็คือผู้ผลิตเค้าล็อกไว้ว่าต้องใช้แต่รอมของเค้าเท่านั้น ห้ามไปใช้ของคนอื่นนะ แต่ก็มีบางเจ้าที่อินดี้ไม่ล็อก(Samsung)

แล้วจำเป็นมั้ยที่จะต้อง Unlock Boot-loader
ก็ถ้าอยาก root หรือ เล่น Custom ROM ก็ต้องทำ แต่ถ้าไม่ ก็ไม่จำเป็นครับ

custom recovery

จริงๆแล้วอุปกรณ์ Android ทุกตัว ก็มี ตัว Recovery อยู่แล้ว ก็มีความสามารถพื้นฐานตามปกติที่เพียงพอใช้งานได้สบายๆ แต่ถ้าอยากได้มากกว่านั้น ก็ต้องพึ่งพา custom recovery ครับ ปัจจุบันก็มีเจ้าดังๆอยู่ 2 เจ้า คือ ClockworkMod (CWM)  กับ Team Win Recovery Project (TWRP)

root

เนื่องจาก Android มันคือ Linux เพราะฉะนั้นก็พูดได้เลยว่า Root คือ Default Super User นั่นเองครับ ความสามารถของ Root นี่ก็เปรียบดั่งเทพเจ้า จะทำอะไรก็ได้ ถ้าจะพูดกันให้เข้าใจแบบบ้านๆกับคนใช้ Windows บ่อยๆ Super User ก็คือ Administrator นั่นล่ะครับ
ใน Android ตอนนี้มีคนที่ทำ Root อยู่ 3 เจ้าใหญ่ๆคือ CWM, ChainsDD และ Chainfire
โดยปกติ เค้าจะปล่อย ตัว root ออกมาเป็นไฟล์ zip เพราะว่าสามารถติดตั้งผ่านตัว recovery ได้ง่าย และก็อาจจะมีออกมาในรูปแบบ *.img อันนี้ก็ต้องลงผ่าน fastboot เอา ขั้นตอนก็จะมากกว่าไฟล์ zip หน่อย (เอาเข้าจริงก็ไม่หน่อยนะ)

เอาละ หลังการที่การทำความรูจักกันมาแล้วว่าอะไรเป็นอะไร ต่อมา เรามาดูวิธีการทำกันเลยดีกว่า

* การทำขั้นตอนต่อไปนี้มีความเสี่ยง โปรดระมัดระวัง และแน่นอนผมไม่รับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น
** ตัวอย่างนี้ทำบน Nexus4 ฉะนั้น ถ้าเป็นอุปกรณ์อื่นๆ ขั้นตอนการ Unlock Boot-loader จะไม่เหมือนกัน


ขั้นตอนการทำก็ง่ายๆ ไม่มีอะไรมาก อุปกรณ์ Android แทบทุกตัว ทำตามนี้ได้หมด(รายละเอียดการทำ Unlock Boot-loader อาจแตกต่างกันไป)

ขั้นตอนที่เราต้องทำ เพื่อการ root แบบ ไฟล์ zip คือ
  1. Unlock Boot-loader
  2. Flash Custom Recovery
  3. Install Root

ก่อนที่จะเริ่มทำก็ต้องเตรียมตัวกันก่อน สิ่งที่ต้องเตรียมมีดังนี้

  1. ใจ
  2. adb (Android Debug Bridge หาได้จากที่นี่)
  3. driver (พอลง adb เสร็จ ก็เลือกจากใน SDK Manager)
  4. เปิดโหมด debuging ที่มือถือให้เรียบร้อย
  5. ไฟล์ Recovery Image มี 2 เจ้าให้เลือก คือ ClockworkMod (CWM)  กับ Team Win Recovery Project (TWRP) เลือกเอาตัวใดตัวหนึ่ง
  6. ไฟล์ Root zip มี 3 เจ้า คือ CWMChainsDD และ Chainfire เลือกเอาตัวใดตัวหนึ่ง

ที่นี้มาดูรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนกัน

ปล. รูปประกอบขอไม่ทำ จะได้ตื่นเต้นกันหน่อย

1. Unlock Boot-loader

ในขั้นตอนนี้ระวังนะครับ เพราะทุกครั้งที่เราทำการ Unlock หรือ Relock เครื่องจะทำ Factory Reset ทุกครั้ง

วิธีการก็คือ ทำให้โทรศัพท์เข้าสู่โหมด Boot-loader เริ่มจากต่อโทรศัพท์เข้ากับเครื่องคอม เปิด usb debuging แล้วลองเช็คดู ด้วยการพิมพ์คำสั่ง
adb devices
ถ้ามีอุปกรณ์ขึ้นมาก็ ok ทำขั้นต่อไปได้ แต่ถ้าไม่ลองเช็คดู Driver ดีๆว่าเรียบร้อยหรือยัง(ดูใน device manager)

ต่อมาก็
adb reboot-bootloader
แล้วมือถือจะ Reboot เข้าโหมด Boot-loader ให้

ตอนนี้จะลองเช็คดูก่อนก็ได้ว่าเครื่องคอมเห็นมือถือในโหมด Boot-loader หรือไม่ ด้วยคำสั่ง
fastboot devices
ต่อมาที่เครื่องคอมพิมพ์
fastboot oem unlock
แล้วเราก็ไปกดที่ตัวมือถือให้ปลดล็อก เท่านี้การ Unlock Boot-loader ก็เรียบร้อย
แล้วก็สั่ง Reboot มือถือได้เลย ถอดสาย USB ออกก่อนก็ได้ หรือจะไม่ถอดก็ได้
แล้วมือถือก็จะทำ Factory Reset


2. Flash Custom Recovery


เหมือนเดิมคือเข้าโหมด Boot-loader แล้วก็พิมพ์คำสั่ง
fastboot flash recovery [ชื่อไฟล์ Recovery Image]

ตัวอย่าง
fastboot flash recovery recovery-clockwork-touch-6.0.2.3-mako.img
แล้วก็เรียบร้อย



3. Install Root


คราวนี้ Reboot มือถือไปโหมด Recovery ด้วยคำสั่ง
adb reboot recovery
แล้วก็ install zip โดยเลือกไฟล์ root zip ที่เราโหลดมา



ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ

* วิธีเข้า boot-loader แบบกดที่มือถือ
power + volume down ค้างไว้

Referrence

http://pocketnow.com/2012/08/14/android-bootloader-explained
http://androidforums.com/sony-ericsson-xperia-mini/581709-what-bootloader-custom-rom-kernel-cwm-firmware-flashing-adb-root.html
http://cdn.androidcentral.com/sites/androidcentral.com/files/imagecache/w680h550/postimages/9274/nexus-4-bootloader.jpg

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

mini review nexus 4 : นี่คือรุ่นที่ 4


ชื่อรุ่นเต็มๆของเจ้านี่ก็คือ LG Nexus 4 E960 เป็นโทรศัพท์ที่ควบคุมการผลิตโดย Google เอง โดยรุ่นที่ผ่านๆมา ก็คือ nexus one ตัวนี้ HTC รับหน้าที่ผลิตไป ส่วนตัวที่สอง และสาม Samsung รับหน้าที่ผลิตในชื่อว่า nexus s และ galaxy nexus ตามลำดับ และในลำดับที่สี่ซึ่งก็คือ nexus 4 รับงานไปโดย LG


















ต่อมาเรามาดูรายละเอียดของตัวเครื่องกัน


ขนาดและมิติ: 133.9 x 68.7x 9.1 mm
หนัก: 139 g

งานประกอบเครื่อง nexus 4 แน่นหนาหรูหรา และด้วยการเลือกใช้วัสดุทั้งหน้าและหลังเป็นกระจก Gorilla Glass ทั้งคู่ บวกกับลาย glitter กลมๆในเนื้อด้านหลัง มันเป็นอะไรที่สวยมากทีเดียว





ด้านการรองรับเครือข่าย
2G Network: GSM 850 / 900 / 1800 / 1900
3G Network: HSDPA 850 / 900 / 1700 / 1900 / 2100
แน่นอนว่าใช้ได้ทุกระบบในไทยแน่ๆ
ส่วน Wi-Fi เป็น Wi-Fi 802.11 a/b/g/n รองรับ dual-band(2.4GHz, 5GHz)
Bluetooth v4.0 with A2DP และแน่นอน NFC ตัวชูโรงเรื่องความเท่








ส่วนจอภาพที่ใช้คือ True HD IPS Plus 16M colors แสดงผลด้วยความระเอียด 768 x 1280 pixels บนจอขนาด 4.7 นิ้ว (คิดเป็นความหนาแน่นก็ไปตกที่ประมาณ 320 ppi )
*ตรงขอบจอด้านข้าง ออกแบบให้กระจกโค้งนิดๆ เพื่อให้การลากนิ้วไปมาไม่สะดุด



ต่อมาคือกล้อง ก็ตามมาตรฐานที่ควรมี คือ กล้องหลัง 8 MP, 3264 x 2448 pixels และกล้องหน้า 1.3 MP























CPU : Qualcomm APQ8064 SnapdragonQuad-core 1.5 GHz Krait
GPU: Adreno 320
RAM: 2GB
สามคุณสมบัตินี้รับประกันลื่นหัวแตก เพราะถือว่าแรงสุดๆแล้ว (ณ ตอนที่ออกขาย)










ต่อไป มาแกะกล่องกัน
หน้าตากล่อง


ด้านหลังก็อธิบายสรรพคุณต่างๆ


เปิดกล่องมาก็จะเจอสุดหล่อนอนรอแบบนี้


ด้านขวาตัวเครื่องมีปุ่ม power/ lock screen


ด้านนี้เป็นปุ่ม เพิ่ม-ลด เสียง


ด้านล่าง USB ช่ิองเดียว


ด้านบน จะเห็นลำโพง กล้อง เซ็นเซอร์ ที่เสียบหูฟัง


โลโก้ เด่นซะ... มีกล้อง กับแฟลช


ลำโพงใหญ่ที่ด้านหลังเครื่อง






ต่อมา มาดูเรื่องประสิทธิภาพกัน
quadrant standard ได้ไป 5013


Antutu v3.2.1 ได้ไป 15688


GL Benchmark โปรแกรมนี้วัดเรื่อง 3D ล้วนๆ ก็อยู่ในระดับที่เรียกว่าแรงทีเดียว



ความคิดเห็นส่วนตัว หลังจากที่ได้จับใช้งาน

  • เครื่องร้อนเร็วดี
  • จับสัญญาณ wifi ไวดี
  • การทำงานลื่นไหลดีมาก
  • ตัวเครื่องจับถนัดมือ เพราะขอบด้านข้างมันคล้ายๆยาง แต่กระจกลื่น
  • จอสู้แสงได้สบาย