วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ทำให้ Gradle บน Android Studio ทำงานได้เร็วขึ้นกว่าเดิม ด้วย Gradle 2.4



Gradle มันช้า

เอาละ หลายคนน่าจะเจอปัญหาแบบเดียวกันเวลาใช้ Android Studio ทำงาน ว่าทำไมมัน Build ได้ช้าจัง ถึงแม้ว่าจะเปิดใช้ Deamon และ Parallel แล้วก็ตาม



ทำยังไงดีล่ะ 

จริงๆแล้วที่ทำได้เองเลยก็คือ ขั้นตอนมาตรฐานที่ทำกันตอนนี้ก็คือ เปิดใช้ Deamon และ Parallel ตามรูปนี้
เปิดใช้ Deamon และ Parallel


แต่ถึงจะเปิดใช้แล้วมันก็เร็วขึ้นมานิดนึง แต่ถ้าจะเอามากกว่านี้ล่ะ

จริงๆแล้ว คงเหลือแต่วิธีที่ต้องไปบอกคนที่ทำ Gradle ว่า "ช่วยทำให้มันเร็วกว่านี้ได้มั้ย" ซึ่งคนทำก็จะบอกว่า "ทำอยู่ และจะทำต่อไป" (คุ้นๆนะประโยคนี้) จึงได้มาเป็น Gradle 2.4 ที่เค้าเครมมาว่าเวลาที่ใช้ Build เร็วขึ้นกว่าเดิม 20% ถึง 40% เลยทีเดียว [1] ส่วนเรื่องอื่นๆที่ปรับปรุงไปอ่านใน Release Notes เอานะ


ของใหม่ออกมา แล้วยังไงต่อ

ก็เอามาใช้สิครับ รออะไรอยู่
"แล้วทำยังไง"
OK มีขึ้นตอนนิดหน่อยที่จะทำให้ Android Studio เปลี่ยนมาใช้ Gradle 2.4 ตามนี้เลย

ขั้นแรกให้ดาวน์โหลด Gradle 2.4 มาก่อนเลย แล้วจะได้ ไฟล์ zip มา จากนั้นก็แตกไฟล์ zip นี้ แล้วเอาไปไว้ในที่ที่ถูกต้อง ก็คือถ้าติดตั้ง Android Studio บน Mac ตามปกติ ก็จะอยู่ที่
Applications/Andriod Studio.app/Contents/gradle



ตามรูปที่เห็นจะมี Gradle 2.2.1 อยู่ก่อนแล้ว เอาไว้ด้วยกันเลย ไม่ผิดที่แน่นอน ส่วนใครที่ใช้ Windows ตัว Gradle ก็น่าจะอยู่ ภายใต้ Android Studio เหมือนกันนะ ลองดู

จากนั้นเราก็จะมาเซ็ทให้ตัว Android Studio ใช้งาน Gradle 2.4 ละนะ
เริ่มจาก เปิด Android Studio ขึ้นมา แล้วเข้าไปที่ 
Preferences -> Build, Execute, Deployment -> Build Tools -> Gradle
แล้วปรับ Gradle Home ให้ชี้ไปที่ Gradle 2.4 
จากนั้น ก็เปิด Module Settings ขึ้นมา แล้วแก้ Gradle version เป็น 2.4 ซะ ตามรูป



ได้เวลาเปลี่ยนแปลง แรงถึงใจ
เพียงเท่านี้ เวลาเรา Build หรือเวลาที่ Gradle ทำงาน มันก็จะเร็วขึ้น(เค้าบอกมาแบบนี้นะ) หลังจากที่ลองใช้แล้วระยะหนึ่ง พบว่ามันเร็วขึ้นจริงๆ แต่ก็ยังไม่เท่าเจ้าอื่นที่เร็วกว่าอยู่ดี ตรงนี้บางคินอาจจะไม่เข้าใจว่า แค่มันเร็วขึ้นทำไมมันถึงสำคัญ ก็เพราะว่าเวลาทำงานเนี่ยมันก็ต้อง Build ไป Test ไป ถ้ากระบวนการมันต่อเนื่องกัน การทำงานมันก็ลื่นไหลไม่สะดุด แต่ถ้ามีอะไรมาทำให้สะดุด หึหึ เสียรมณ์

โดยรวมแล้วก็ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีว่าในเวอร์ชันต่อๆไปมันก็จะเร็วขึ้นได้อีกแน่นอน


อ้างอิง
[1] Gradle 2.4 Release Notes - https://docs.gradle.org/current/release-notes

https://medium.com/@erikhellman/boosting-the-performance-for-gradle-in-your-android-projects-6d5f9e4580b6

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Preview notebook Dell Inspiron 5448 เมื่อ Dell ก็ยังคงเป็น Dell

เมื่อ Dell ก็ยังคงเป็น Dell 


พอดีว่ามีเรื่องให้ต้องซื้อโน๊ทบุคใหม่ รอบนี้มีสเป็คง่ายๆ ก็คือ
  • เปิดเครื่องเพื่อทำความสะอาด และอัพเกรดง่าย
  • จอดีหน่อย
  • แรงพอตัวทั้ง CPU, GPU, HDD, RAM
  • หน้าตาเครื่อง เรียบหรู
  • เอา OpenCL

ทีนี้ ณ นาทีนี้เนี่ยที่แรงๆหน่อยมันก็มี Lenovo Y,  Asus G, MSI, DELL ที่พอจะมีของที่พอจะตรงใจ แต่ไม่ 100%
  • Lenovo Y หน้าตาไม่โดน
  • Asus G ศูนย์บริการดาวอังคาร
  • MSI สเป็คไม่โดน
  • DELL แพงเมื่อเทียบกับคนอื่น

ในเมื่อไม่มีที่ดีที่สุด ก็ต้องเอาที่มันใกล้เคียงที่สุด หวยเลยไปตกที่ DELL เพราะ
  • เปิดเครื่องเพื่อทำความสะอาด และอัพเกรดง่าย ผ่าน เพราะขันน็อต 2 ตัว เปิดฝาหลังได้ทั้งแผงเลย สะดวกดี แล้วเห็นหมดทุกอย่างด้วย
  • จอดีหน่อย ไม่ผ่าน เพราะไม่ Full HD + ไม่ IPS
  • แรงพอตัวทั้ง CPU, GPU, HDD, RAM ผ่าน 
  • หน้าตาเครื่อง เรียบหรู ผ่าน
  • เอา OpenCL ผ่าน เพราะ GPU ได้ AMD

ก็โอเคนะผ่าน 4 ข้อจาก 5 ข้อ ถึงราคาจะรู้สึกว่าแพงไปนิดหน่อย แต่ก็คิดซะว่าแลกกับประกันที่ดี ก็รับได้

หลังจากพิจารณา อย่างยาวนาน ก็ได้ DELL INSPIRON 5448 สำหรับสเป็คคร่าวๆก็คือ
CPU: Intel Core i7-5500U (2.40 GHz, 4MB L3 Cache, up to 3.00 GHz)
Graphic: AMD Radeon R7 M270 (4GB GDDR3)
DisplaySize: 14 inch (1366x768) HD
Memory: 8 GB DDR3L  Memory Bus 1600 MHz
Hard Disk: 1 TB 5400 RPM + 8GB SSD (SSHD)
 
 
 


เจาะลึกชิ้นส่วนสำคัญ 3 ชิ้นหลัก: CPU, GPU, HDD ที่ส่งผลกับประสิทธิภาพของระบบ

CPU: Intel® Core™ i7-5500U Processor

Intel® Core™ i7-5500U Processor (4M Cache, up to 3.00 GHz) ตัวนี้ถือว่าเป็นตัวต่ำสุดของ i7 ใน gen5 codename Broadwell ใช้กระบวนการผลิตแบบ 14 นาโนเมตรอย่างเต็มรูปแบบ แต่เมื่อเทียบกับพวก gen4 ประสิทธิภาพก็ดีขึ้นราวๆ 10% ได้

Ref
http://ark.intel.com/products/85214/Intel-Core-i7-5500U-Processor-4M-Cache-up-to-3_00-GHz
http://ark.intel.com/products/family/84979/5th-Generation-Intel-Core-i7-Processors#@All

GPU: AMD Radeon™ R7 M270

R7 m270 นี่ก็ถือได้ว่าเป็นตัว top ของ R7 mobile เลย ประสิทธิภาพนี่ก็คาบเกี่ยวกับ g840m g850m ก็ถือว่าเล่นเกมบนโน๊ทบุคแก้เบื่อได้สบายๆ แถมยังรองรับ API DirectX® 12 ด้วย

Ref
http://www.amd.com/en-us/products/graphics/notebook/r7-m200

HDD

เจ้า Seagate st1000lm014-1ej164 ตัวนี้มันมีดีอยู่ที่มันคือ SSHD: Solid State Hybrid Drive ที่ทาง Seagate เครมมาว่า SSD-like Speed. Large HDD Capacity. An Affordable Price. ซึ่งจาการใช้งานจริงพบว่ามันไวกว่า HDD ธรรมดา แต่ก็ยังไม่เท่า SSD ตามกลไกของมันเอง

Ref
http://www.seagate.com/as/en/internal-hard-drives/solid-state-hybrid/laptop-solid-state-hybrid-drive/#specs
http://hdd.userbenchmark.com/Seagate-Laptop-SSHD-25--1TB/Rating/1804

ทีนี้ก็มาถึงจุดสำคัญคือ ผล Benchmark

เน้นลองกับโปรแกรม 3D เป็นหลักคือ Unigine กับ 3D Mark
และโปรแกรมยอดนิยมอีกตัวก็คือ CINEBENCH


ตรงนี้เพิ่มผลเทียบกันกับ PC ตัวเก่าที่มีอยู่แล้ว โดย System 1 จะเป็น Dell 5448 ส่วน System 2 จะเป็น PC ใช้ AMD 7790
System 1
Platform: Windows NT 6.2 (build 9200) 64bit
CPU model: Intel(R) Core(TM) i7-5500U CPU @ 2.40GHz (2394MHz) x2
GPU model: Intel(R) HD Graphics 5500 10.18.10.3960/AMD Radeon R7 M270 14.301.1002.1001 (4095MB) x1
System 2
Platform: Windows NT 6.2 (build 9200) 64bit
CPU model: AMD FX(tm)-6100 Six-Core Processor (3322MHz) x3
GPU model: AMD Radeon HD 7700 Series 14.501.1003.0 (1024MB) x1

Unigine Valley Benchmark 1.0

# System 1 Settings System 2 settings
Render: Direct3D9
Mode: 1280x720 2xAA windowed
Preset: Basic
Render: Direct3D11
Mode: 1600x900 8xAA windowed
Preset: Extreme
Render: Direct3D11
Mode: 1920x1080 8xAA fullscreen
Preset: Extreme HD
Render: Direct3D9
Mode: 1280x720 2xAA windowed
Preset: Basic
Render: Direct3D11
Mode: 1600x900 8xAA windowed
Preset: Extreme
Render: Direct3D11
Mode: 1920x1080 8xAA fullscreen
Preset: Extreme HD
FPS 20.9 8.1 6.4 43.6 24.7 18.8
Score 876 338 268 1826 1033 788
Min FPS 12.7 5.3 4.0 14.1 11.8 7.9
Max FPS 36.2 14.0 11.2 79.7 45.3 36.0


Unigine Heaven Benchmark 4.0



# System 1 settings System 2 settings
Render: Direct3D9
Mode: 1280x720 2xAA windowed
Preset: Basic
Render: Direct3D11
Mode: 1600x900 8xAA windowed
Preset: Extreme
Render: Direct3D9
Mode: 1280x720 2xAA windowed
Preset: Basic
Render: Direct3D11
Mode: 1600x900 8xAA windowed
Preset: Extreme
FPS 23.7 7.2 69.5 22.1
Score 597 182 1750 557
Min FPS 7.0 4.8 19.2 13.8
Max FPS 44.1 15.0 123.0 49.6

3D Mark

Test Score Graphics Score Physics Score Combined Score
Ice Storm 57554 73162 32951
Cloud Gate 5954 8724 2821
Sky Diver 4624 4500 4840 5386
Fire Strike 1226 1323 4053 473

Cine Bench R15 & R11.5

 
 

เพิ่มผลเมื่อเทียบกับเครื่อง Macbook Pro มาให้ดูด้วย

สรุปคือ

ได้ Notebook งานประกอบดีมา 1 เครื่อง
ประสิทธิภาพ+งาน+ประกัน คุ้มกับราคา 29XXX จริงๆแล้วถ้าราคามัน 26XXX นี่จะเรียกได้ว่าคุ้มสุดๆเลยนะ